วิธีรักษา อาการเท้าแบน ปวดข้อเท้า ปวดหัวเข่า ปวดสะโพก ปวดหลัง
อาการเท้าแบน สรีระเท้าผิดรูป มีผลทำให้การรับน้ำหนักเท้าผิดปกติ ส่งผลต่อกระดูกในระยะยาว ปวดข้อเท้า ปวดหัวเข่า ปวดสะโพกและอาการปวดหลัง
อาการเท้าแบน เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน หรือวิ่งบนพื้นแข็ง ๆ ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับสรีระ และกิจกรรม หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจนเท้าต้องรับน้ำหนักมากเกินไป หากไม่รีบรักษา อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น
"เท้าแบน" ภัยเงียบที่คนไทยไม่ทันตั้งตัว
หลายคนอาจเผลอละเลยสุขภาพเท้าที่คอยรับน้ำหนักร่างกายเราแทบตลอดเวลา วันนี้ "สกอลล์" แบรนด์รองเท้าจากสหรัฐอเมริกา มีบทความมาแนะนำให้รู้จักกับ "ภาวะเท้าแบน" ที่แม้จะไม่ใช่โรคแต่ก็อาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อย
สำรวจตัวเองกันด่วน ๆ ว่ามักจะ ยืน เดิน หรือวิ่งบนพื้นแข็ง ๆ ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับสรีระ และกิจกรรม หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจนเท้าต้องรับน้ำหนักมากอยู่หรือเปล่า ถ้าคำตอบคือใช่ ก็อาจเสี่ยงเกิดภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่น
อย่างที่พบได้ใน 10-15% ของประชากรไทยทั้งหมด ในขณะที่คนอีกกลุ่มมีเท้าแบนแบบยึดติด ซึ่งเป็นภาวะที่เป็นมาแต่กำเนิดจากความผิดปกติของกระดูกเท้า ซึ่งมักเกิดร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาทของสมองและไขสันหลัง
เท้าแบน เป็นสภาวะที่เอ็นพยุงอุ้งเท้าที่อยู่ด้านในเท้า ถูกยืดออกจนสูญเสียการพยุงอุ้งเท้าไว้ ทำให้กระดูกภายในเท้าเอียงล้มลงมาจนเท้าแบนในที่สุด สรีระเท้าที่ผิดรูปจะทำให้การรับน้ำหนักของเท้าผิดปกติ เกิดอาการเมื่อยล้าของบริเวณเท้าและน่องได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆ
ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลต่อการวางตัวของกระดูก ข้อเท้า เข่า สะโพกและหลัง ทำให้ส่วนเหล่านั้นเสื่อมและเกิดอาการปวด หากไม่ได้รับการรักษา อาจพัฒนาเป็นเท้าแบนแบบยึดติดซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น
ถ้าเป็นแล้วต้องรักษาอย่างไร? ภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่น รักษาได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไป และการเลือกรองเท้าที่มีส่วนโค้งนูนรับกับฝ่าเท้า ใส่รองเท้าที่มีแผ่นช่วยเสริมอุ้งเท้าเป็นประจำจะช่วยแก้ไขภาวะเท้าแบนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมหันมาใส่ใจเท้าคู่ใจพักรองเท้าส้นสูงไว้บ้าง นวดประคบ
แช่น้ำอุ่น เดินเท้าเปล่าบนพื้นหญ้า หาดทราย
หรือก้อนหินเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และเลือกรองเท้าที่ดีต่อสุขภาพเท้า
พื้นไม่แบนราบเกินไป และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง
เท่านี้ก็ห่างไกลจากสภาวะเท้าแบนกันได้แล้ว
ที่มา :
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์